เมนู

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ก็ในจำพวกข้าวสาลี และลูกเดือยนี้ ลูก
เดือยและข้าวฟ่างชาวเมือง* (ข้าวโพดกระมัง ?) อนุโลมเข้ากับธัญชาติ.
จะเป็นธัญชาติหรือธัญชาติอนุโลมก็ตามที พวกชาวบ้านเอาข้าวสารแห่ง
ธัญชาติทั้ง 7 มีชนิดดังกล่าวแล้วนี้ หุงต้มหมายให้เป็นโภชนะอย่างใดอย่าง
หนึ่งว่า เราจักหุงข้าวสวย หรือว่า เราจักต้มข้าวต้ม หรือว่า เราจักกวนข้าว
ต้ม หรือว่า เราจักกวนข้าวปายาสเปรี้ยวเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ตาม.
ถ้าเมื่อพวกภิกษุฉันภัตนั้น จะร้อนหรือเย็นก็ตาม รอยย่อมปรากฏในที่ควักเอา
หรือตักเอาในเวลาฉันภัตนั้น ถึงการสงเคราะห์เป็นข้าวสุกทีเดียว ก่อให้เกิด
การห้าม (ภัต ), ถ้ารอยไม่ปรากฏ, ถึงการสงเคราะห์เข้าเป็นยาคู, ไม่ให้เกิด
การห้าม (ภัต).
ข้าวปายาส หรือข้าวยาคูเปรี้ยวซึ่งผสมด้วยใบไม้ ผลไม้และหน่อไม้
(เหง้า) แม้อันใด พอยกลงจากเตายังร้อนอยู่, อาจจะกลอกดื่ม (ตะแคงหม้อ
ดื่ม) ได้ แม้ในโอกาสที่มีมือควักเอา ก็ไม่แสดงรอย (ให้ปรากฏ), ยาคู
เป็นต้นนั้น ไม่ให้เกิดการห้าม (ภัต). แต่ถ้าเมื่อไอร้อนหมดไปเย็นลงแล้ว
ถึงความแข้นเข้า แสดงรอยให้ปรากฏ กลับก่อให้เกิดการห้าม (ภัต) ได้.
ความเป็นของเหลว ๆ ในเบื้องต้นคุ้ม (อาบัติ) ไม่ได้.
ถ้าแม้นเขาเติมนมส้ม และเปรียงเป็นต้นลงไปแล้ว ใส่ใบไม้ผลไม้
และหน่อไม้เป็นอันมากลงไป เพิ่มข้าวสารลงไปแม้เพียงกำมือเดียว. ถ้าใน
เวลาฉันมีรอยปรากฏ ก่อให้เกิดการห้าม (ภัต).

[ว่าด้วยโภชนะต่าง ๆ เป็นเหตุห้ามและไม่ห้ามภัต]


ในนิมันตนภัต ไม่มีข้าวยาคู ชาวบ้านเทน้ำข้าว และนมสดลงไปใน
ภัต ด้วยตั้งใจว่า จักถวายยาคู แล้วถวายว่า นิมนต์ท่านรับยาคู. ถึงข้าวยาคู
* บางแห่งว่าแฝกหอม.